“พิมพ์ภัทรา” ร่วมสืบสานประเพณีไทยวอนอุดหนุนสินค้ามาตรฐาน มผช.กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน

รมว.อุตฯหนุนประเพณีไทย ลอยกระทงนี้วอนอุดหนุนสินค้ามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ชุมชนทั่วไทย

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ร่วมสืบสานประเพณีไทย วอนเลือกใช้กระทงที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่างๆ เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย ซึ่งนอกจากจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการอุดหนุนสินค้าไทย และกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจในระดับชุมชนด้วย

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตฯ

“กระทงจากวัสดุธรรมชาติที่ผลิตโดยผู้ผลิตชุมชนที่ผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นสินค้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมให้การรับรองว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความประณีต สวยงาม ไม่มีกลิ่นสารเคมี สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ สำหรับบางพื้นที่ที่มีประเพณีการปล่อยโคมลอยในเทศกาลลอยกระทง ก็ขอแนะนำให้ปล่อยโคมลอยที่ได้มาตรฐาน มผช. ด้วย รวมทั้งให้ยึดถือปฏิบัติตามประกาศมาตรการป้องกันและการรักษาความปลอดภัยของส่วนราชการในพื้นที่อย่างเคร่งครัด ซึ่งจะควบคุมการปล่อยโคมลอยในพื้นที่เฝ้าระวัง โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้สนามบิน เพื่อไม่ให้โคมลอยเข้าไปติดในเครื่องบิน หรือลอยเข้าไปตกตามชุมชน รัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรมห่วงใยชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ไม่อยากให้เกิดความเสียหายในเทศกาลแห่งความสุขนี้” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมฯ กล่าว

Floating colored lanterns and garlands on river at night on Vesak day in Saigon River for celebrating Buddha’s birthday, that made from paper and candle. Commemorating those who have passed away

ด้าน นายวันชัย พนมชัย รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้มีผู้ผลิตกระทงเปลือกข้าวโพดที่ได้มาตรฐาน มผช. จำนวน 7 ราย ได้แก่ 1) กลุ่มแม่บ้านเกาะพิมูลพัฒนา 2) นางสตรีรัตน์ ชูอินทร์ 3) กลุ่มกระทงแฟนซีจากเปลือกข้าวโพด 4) นางเตือนคนึง ราชา 5) วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกระทงตำบลลานดอกไม้ตก 6) กลุ่มกระทงเปลือกข้าวโพดบ้านลานดอกไม้ตกหมู่ที่ 1 และ 7) นางวิรัตน์ ทวนธง และมีผู้ผลิตโคมลอยที่ได้มาตรฐาน มผช. จำนวน 1 ราย ได้แก่ นางชไมพร วงศ์สถาน จึงขอเชิญชวนประชาชนคนไทยร่วมกันสนับสนุนสินค้าไทย เพื่อกระจายรายได้ และสร้างความยั่งยืนให้กับสินค้าชุมชน เนื่องจากกระทงจากวัสดุธรรมชาติที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน มผช. เป็นสินค้าที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม มีความประณีต สวยงาม ไม่มีกลิ่นสารเคมี ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และโคมลอยที่ได้มาตรฐาน มผช. ตัวโคมจะใช้วัสดุจากธรรมชาติ มีปริมาณเชื้อเพลิงไม่เกิน 55 กรัม ใช้เวลาในการเผาไหม้ไม่เกิน 8 นาที ซึ่งเหมาะสมกับระยะเวลาที่โคมลอยอยู่ในอากาศ และเมื่อตกลงมาสู่พื้นก็ไม่เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ มีการยึดตัวโคมด้วยวัสดุที่เป็นเชือกทนไฟ หรือลวดที่มีความยาวไม่เกิน 30 เซนติเมตร เพื่อไม่ให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรหากโคมลอยตกพาดบนสายไฟ อันเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ตามมาได้ ทั้งนี้ สามารถเลือกซื้อกระทงและโคมลอยที่ได้มาตรฐาน มผช. ได้ตามรายละเอียดบนเว็บไซต์ สมอ. หรือจะสั่งซื้อทางแอพพลิเคชั่นช้อปปิ้งออนไลน์ต่างๆ ก็ได้

Tourist floating sky lanterns in Loy Krathong festival , Chiang Mai ,Thailand.

ปัจจุบัน สมอ. ได้กำหนดมาตรฐาน มผช. แล้วทั้งสิ้น 1,670 มาตรฐาน มีผู้ผลิตชุมชนได้รับการรับรองรวม 11,071 ราย แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ อาหาร 1,347 ราย เครื่องดื่ม 227 ราย ผ้าและเครื่องแต่งกาย 3,730 ราย สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 693 ราย และของใช้ ของตกแต่งและของที่ระลึก 5,074 ราย สามารถดูรายชื่อผู้ที่ได้รับการรับรองได้ที่ https://tcps.tisi.go.th/public/certificatestandard.aspx หากผู้ผลิตชุมชนต้องการขอการรับรองมาตรฐาน มผช. สามารถยื่นขอได้ที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ นายวันชัยฯ กล่าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *