สรุปให้ที่นี่!! หลักฐานสำคัญ 7 ข้อชี้ชัด ITV ไม่มีสถานะ “ความเป็นสื่อ” นานกว่า 16 ปีแล้ว!

ยังคงสร้างแรงกระเพื่อมทางการเมืองไม่หยุด จากประเด็นการถือหุ้นสื่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ที่นำไปสู่ความพยายามจะปลุกผี ไอทีวี ว่ามีการดำเนินกิจการเกี่ยวกับสื่ออยู่ จนเรื่องราวบานปลายกลายเป็นไฟลามทุ่งที่กำลังเผาไหม้คนใน “ขบวนการปลุกผีไอทีวี” เสียเอง ไม่ว่าจะเป็นข้อพิรุธต่างๆ ทั้งโดนแฉสาวไส้ทุกคนที่เกี่ยวข้องในขบวนการนี้ จนต่างคนต่างโบ้ยเอาตัวรอดกันพัลวัน

“ทีมข่าวมหาชน” สรุปหลักฐานสำคัญ 7 ข้อที่ชี้ชัดว่า ไอทีวีได้สิ้นสุดสถานะความเป็นสื่อมายาวนานถึง 16 ปีแล้ว ดังนี้

เอกสารจากศาลปกครอง
  1. วันที่ 7 มี.ค. 2550 คณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มีมติให้ “ยกเลิกสัญญาสัมปทานจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรี และสั่งให้ยุติการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี” ก่อนจะแปรสภาพเป็นช่อง TITV และกลายเป็นจอดำอีกครั้งในปีถัดมา รวมระยะเวลาที่ไอทีวีพ้นสถานะความเป็นสื่อทั้งสิ้น 16 ปีแล้ว
เอกสารลับเฉพาะแจ้งการเลิกจ้างพนักงานไอทีวี

2. นายเอกราช อุดมอำนวย ว่าที่ สส.ก้าวไกล เขตดอนเมือง อดีตพนักงานไอทีวี (ITV) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Ekkarach Udomumnouy – MFP เปิดเอกสารลับเฉพาะแจ้ง “การเลิกจ้างพนักงานไอทีวี” โดยในเอกสารมีข้อความสำคัญว่า

เนื่องด้วยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (“สปน.”) ได้บอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ระหว่าง สปน. และบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) เป็นเหตุให้บริษัทไม่สามารถประกอบกิจการและดำเนินธุรกิจสถานีโทรทัศน์ไอทีวีต่อไปได้ตามกฎหมาย และทำให้บริษัทต้องยุติการประกอบธุรกิจสถานีโทรทัศน์ ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป”

  1. ในเอกสาร “แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ของ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ในหน้า “ข้อมูลสรุป” (หน้า 3-4) ระบุข้อความว่า

“นับตั้งแต่ 8 มีนาคม 2550 บริษัทฯ ไม่มีรายได้จากการบริการสถานีโทรทัศน์ แต่อย่างใด รายได้หลักเกิดจากการนำเงินที่เหลืออยู่ไปฝากสถาบันการเงิน” และในหน้าต่อมาระบุอีกว่า “วันที่ 6 มีนาคม 2550 คณะรัฐมนตรีมีมติให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ยุติการออกอากาศ โดยจะออกอากาศได้ถึงเวลา 24.00 น.ของวันที่ 7 มีนาคม 2550” และไอทีวีต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์ ส่งคืนให้กับ สปน.ด้วย  (อ้างอิงไฟล์เอกสาร https://www.intouchcompany.com/download/itv/56-1/ITV-56-1-Thai-%E0%B8%9B%E0%B8%B5%202552.pdf )

  1. นายชวลิต เลาหอุดมพันธ์ จากพรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก Chavalit Laohaudomphan – ชวลิต เลาหอุดมพันธ์ ระบุว่า งบการเงิน (ส.บช.3) ที่ไอทีวีส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีความขัดแย้งกับ “งบการเงินปี 65″ จำนวน 33 หน้า ที่นำส่งให้กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ชนิดตรงกันข้ามจนมีข้อน่าสังเกตว่า เอกสารที่ส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อาจเป็นการรายงานเท็จ โดยงบการเงินปี 2565 นี้อนุมัติในวันที่ 24 ก.พ. 2566 ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ของ กลต.

(ดาวน์โหลดงบการเงินปี 2565 จากเว็บไซต์ กลต. ได้ตามลิงก์ https://market.sec.or.th/…/FinancialReport/FS-0000002058 )

  1. เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 รายการข่าว 3 มิติ โดย ฐปนีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวได้นำเสนอรายงาน “ตรวจที่ตั้ง ‘ไอทีวี’ หาความจริง ยังดำเนินกิจการสื่ออยู่หรือไม่?” ซึ่งตั้งอยู่ที่ สำนักงานใหญ่ 87 อาคารเอ็มไทย ทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์ เพลส ชั้น 27 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร แต่กลับพบว่าเป็นเพียงสำนักงานทั่วไป ไม่พบว่ามีอุปกรณ์ผลิตรายการโทรทัศน์ ไม่มีกองบรรณาธิการข่าว ไม่มีผู้สื่อข่าว ไม่มีห้องตัดต่อ ตลอดจนไม่มีการทำงานในรูปแบบการผลิตสื่อโทรทัศน์แต่อย่างใด

คลิปจากรายการข่าว 3 มิติ  https://www.youtube.com/watch?v=spg9HGa07GI

  1. วันที่ 11 มิถุนายน 2566 แยม ฐปนีย์ ผู้สื่อข่าว รายการข่าว 3 มิติ เปิดคลิปที่ประชุมผู้ถือหุ้นไอทีวี เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 นาทีตอบคำถามว่ายังเป็นสื่อหรือไม่ โดยมีคลิปเสียงเป็นคำตอบจากประธานในที่ประชุมคือ นายคิมห์ สิริทวีชัย ประธานกรรมการบริษัท ว่า “ตอนนี้บริษัทยังไม่มีการดำเนินการใดๆครับ ก็รอผลคดีความให้สิ้นสุดก่อนนะครับ” ซึ่งไม่ตรงกับเอกสารรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566

คลิปจากรายการข่าว 3 มิติ https://www.youtube.com/watch?v=TMJOGybTUqQ

  1. แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช.3) ที่ไอทีวีนำส่งงบการเงินรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 ระบุว่า รายได้ของไอทีวีในรอบปี 2565 มาจากสื่อโทรทัศน์ โดยมีสินค้า/บริการ คือ “สื่อโฆษณา” แต่คำตอบของนายคิมห์ สิริทวีชัย ในฐานะประธานกรรมการบริษัท และประธานที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 26 เมษายน 2566 กลับปรากฏว่า นายคิมห์ได้ตอบคำถามผู้ถือหุ้นไปว่า “บริษัทยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ต้องรอผลคดีความให้สิ้นสุดก่อน” ทั้งยังมีข้อพิรุธที่ว่า หากไอทีวีประกอบกิจการและมีรายได้จาก “สื่อโฆษณา” จริง ก็น่าจะต้องมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า รับทำสื่อโฆษณาให้กับลูกค้ารายใด เป็นสื่อแบบไหน และมีค่าผลิตสินค้า/บริการสื่อโฆษณาเป็นเงินจำนวนเท่าใด ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีรายละเอียดในส่วนนี้แต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดวันนี้ (15 มิ.ย.2566) บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ได้เผยแพร่ “หนังสือชี้แจงผู้ถือหุ้น” ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท www.itv.co.th หลังใช้เวลาตรวจสอบข้อเท็จจริงนานกว่า 3 วัน โดยเป็นการชี้แจงเพียง 3 ประเด็นหลักเกี่ยวกับบันทึกรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น แบบนำส่งงบการเงิน และงบการเงิน ซึ่งตอนท้ายหนังสือชี้แจงย้ำว่า การดำเนินการประชุม การจัดทำรายงานการประชุม การนำส่งแบบนำส่งงบการเงิน งบการเงิน และการดำเนินการต่างๆ ของบริษัทเป็นการดำเนินการทางธุรกิจตามปกติและเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ.

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *