“นิด้าโพล” เผยผลสำรวจ คนไทยอยากได้ “ประธานสภา” ที่เป็นกลาง-มีประสบการณ์

“นิด้าโพล” เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประธานสภาผู้แทนราษฎร 2566” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความเห็นเรื่อง ประธานสภาผู้แทนราษฎร 2566 โดยอาศัยการสุ่มตัวอย่างความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” โดยสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ กำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อลักษณะของผู้ที่จะเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 76.72 ระบุว่า สามารถทำงานให้กับทุกพรรคการเมืองด้วยความเป็นกลางได้ รองลงมา ร้อยละ 28.63 ระบุว่า มีประสบการณ์ทำงานในฐานะ ส.ส. หลายสมัย ร้อยละ 26.34 ระบุว่า ต้องจบกฎหมาย ร้อยละ 24.89 ระบุว่า ต้องเป็นที่ยอมรับของ ส.ส. ร้อยละ 16.41 ระบุว่า ต้องมาจากพรรคที่จะเป็นรัฐบาลเท่านั้น ร้อยละ 15.95 ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องมาจากพรรคเดียวกันกับนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 15.65 ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องมาจากพรรคอันดับหนึ่งในสภาก็ได้ ร้อยละ 14.05 ระบุว่า มาจากพรรคที่จะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้านก็ได้ ร้อยละ 13.36 ระบุว่า ต้องมาจากพรรคอันดับหนึ่งในสภาเท่านั้น

ร้อยละ 13.05 ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ทำงานในฐานะ ส.ส. หลายสมัย ร้อยละ 10.92 ระบุว่า ไม่จำเป็นต้อง จบกฎหมาย ร้อยละ 7.10 ระบุว่า ต้องมาจากพรรคเดียวกันกับนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 6.56 ระบุว่า เป็น ส.ส. คนไหนก็ได้ ร้อยละ 2.90 ระบุว่า สามารถผลักดันร่างกฎหมายของพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัดได้ และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ต้องมาจากพรรคที่จะเป็นฝ่ายค้านเท่านั้น

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการตัดสินใจของ ส.ส. ในการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 52.44 ระบุว่า ส.ส. ควรมีการตกลงกันภายในพรรคของตนเองก่อนลงคะแนนเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร รองลงมา ร้อยละ 47.10 ระบุว่า ควรปล่อยให้ ส.ส. ใช้อิสระในการลงคะแนนเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก

ตัวอย่างร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.18 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.28 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.54 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *