ซีเซียม-137 อันตรายหายนะกว่าที่คิด!หลังพบที่ปราจีนฯ นักวิชาการเตือนมลพิษกระจายหลายที่

Must Read

ผวามลพิษกระจายตัวภาคตะวันออก -ภาคกลาง กรมโรงงานอุตสาหกรรม ย้ำพบแล้วที่โรงงานในจังหวัดปราจีนบุรี โดยการตรวจสอบจากทางจังหวัดและทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ขณะที่นักวิชาการประสานเสียง “ฝุ่นแดง” อันตรายหายนะกว่าที่คิด 

จากรณีที่วัสดุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 (Cs-137) ได้สูญหายไปจากโรงไฟฟ้า บริเวณนิคมอุตสาหกรรม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี และล่าสุดนายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมด้วยนายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ลงพื้นที่ตรวจสอบ เขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี และตรวจโรงหลอม 2 โรง บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ซึ่งตั้งอยู่ใน ต.หนองกี่ อ.กบินทร์บุรี และบริษัท เคพีพีสตีล จำกัด ต.หาดนางแก้ว.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

ผลการตรวจสอบบริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ต.หนองกี่ ซึ่งเป็นโรงงานหลอมเหล็กที่ใหญ่ที่สุด และมีเตาหลอมจำนวน 8 เตา ซึ่งในแต่ละวันจะมีรถบรรทุกเศษเหล็กและเหล็กที่หลอมแล้วเข้าออกเป็นจำนวนมาก และคาดว่าอาจจะเป็นจุดที่สารกัมมันตรังสี ‘ซีเซียม 137’ ถูกขายเป็นของเก่า ซึ่งอาจปนมากับเหล็กที่จะเข้ามาได้โดยได้ใช้เครื่องมือของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เข้าตรวจวัดสแกนหารังสีตามกองเศษเหล็ก รวมทั้งเหล็กที่ถูกบีบอัดที่จะเข้าเตาหลอม

ขณะที่บางจุดขณะเจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบ พบว่า เครื่องตรวจวัดอาจจะเจอกับสารบางอย่างแต่ไม่ระบุชนิด หรืออาจเป็นสารกัมมันตรังสี ‘ซีเซียม 137’ ทำให้เจ้าหน้าที่พลังงานปรมาณูเพื่อสันติเข้าตรวจสออย่างละเอียดแต่ยังไม่ยืนยันว่าเป็นสารกัมมันตรังสีซีเซียม 137 หรือไม่? รวมถึงยังตรวจตะกอนจากเตาหลอมว่าพบสารกัมมันตรังสี ‘ซีเซียม 137’ รวมทั้งเศษดินภายในโรงงาน โดยจากตรวจสอบอย่างละเอียดของเจ้าหย้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยันว่าสารที่พบในโรงหลอมเหล็ก บริษัทเชาว์ สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน ) เป็นวัสดุกัมมมันตรังสี ‘ซีเซียม 137’ เบื้องต้น จังหวัดปราจีนบุรีจึงได้ออกประกาศปิดโรงงานและกันพื้นที่ไม่ให้พนักงานทั้งหมดออกจากโรงงานเพื่อความปลอดภัย

ด้านนายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบทั้งสอง โดยเฉพาะที่โรงงานเคพีพี อ.กบินทร์บุรี จ. ปราจีนบุรีพบว่า มีสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 อยู่ในฝุ่นแดงบริเวณเหล็กหลอมในโรงงาน คาดว่า มาจากอุปกรณ์ที่หายไปของโรงไฟฟ้าเนชั่ลแนล ซึ่งถูกหลอมรวมกันไปแล้ว ทำให้เราเจอแต่ในฝุ่นแดงที่ตรวจพบ

และก่อนหน้านี้ทางโรงงานเคพีพี ได้นำฝุ่นแดง 12.4 ตันในโรงงานไปสู่กระบวนการรีไซเคิล ที่ จ.ระยอง ตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค. จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ ไปตรวจสอบฝุ่นแดนในห้องแล็บว่ามีสารซีเซียม-137 ปนเปื้อนไปหรือไม่ ล่าสุดเจ้าหน้าที่แจ้งมาแล้วว่า ไม่มีสารซีเซียม-137 ปนเปื้อนไปที่โรงงานรีไซเคิลที่ จ.ระยอง อย่างแน่นอนส่วนสารปนเปื้อนซีเซียม-137 ที่ตรวจพบในโรงงานเคพีพี ทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กฎหมายเฉพาะจะเป็นผู้ดำเนินการต่อไป
นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทยและคณะกรรมการด้านสุขภาพของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่

ขณะที่นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทยและคณะกรรมการด้านสุขภาพของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ เปิดเผยผ่านเฟสบุ๊คเกี่ยวกับการรั่วไหล และ ผลที่จะตามมาในเรื่องของ ซีเซียม -137 โดยระบุว่า ” ถ้าแท่งโลหะที่บรรจุCs137ถูกหลอมรวมกับเศษเหล็กในโรงงานหลอมเหล็กแล้ว ผลกระทบที่ตามมาคือ

1.ฝุ่นขนาดเล็กของCs137ที่ปล่อยออกมาจากปลายปล่องจะกระจายสู่บรรยากาศและตกลงสู่แหล่งน้ำ ดินที่อยู่รอบๆโรงงานและเกิดการปนเปื้อนเข้าสู่วงจรอาหารได้แก่ ผัก ผลไม้ อา หารจากแหล่งน้ำใกล้เคียงและอาหารแปรรูปจากวัตถุดิบทางการเกษตร เป็นต้นรวมทั้งอาจมีบางส่วนที่ประชาชนหายใจเข้าไปด้วย…
สารนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายบางส่วนจะถูกขับออกจากร่างกายทางเหงื่อและปัสสาวะและบางส่วนจะตกค้างและสะสมในกล้ามเนื้อ,ตับ,ไขกระดูก หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะทำให้เกิดความผิดปกติในระดับโครโมโซมคือเป็นมะเร็งนั่นเอง
2.หากโรงงานหลอมเหล็กมีอุปกรณ์ควบคุมมล พิษทางอากาศ เช่น Baghouse Filter โดยจะทำการกรองฝุ่นเหล็กขนาดเล็กที่ปนเปื้อนสาร Cs137หรือที่เรียกว่าฝุ่นแดงไว้ในถุงกรองในปริมาณมากซึ่งโรงงานหลอมเหล็กจะขายฝุ่นแดงดังกล่าวให้กับโรงงานประเภท106 นำไป Recycleเพื่อสกัดเอาธาตุสังกะสีไปใช้ ซึ่งจะทำให้สารCs137แพร่กระจายออกไปในวงกว้างมากขึ้นและเกิดอันตรายต่อประชาชนและระบบนิเวศ
3.เมื่อเข้าเตาหลอมแล้วส่วนหนึ่งจะกลายเป็นขี้เถ้าหนัก(Bottom ash)โดยจะมีอนุภาคของ สารCs137ปนเปื้อนในเถ้าหนักด้วย หากโรง งานนำไปฝังกลบใต้ดินก็อาจปนเปื้อนน้ำใต้ดินและน้ำผิวดินซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารและน้ำต่อไป
4.เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องสวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย(PPE)เพื่อป้องกันการได้รับรังสีและทำการตรวจการปนเปื้อนของสารCs137 ภายในโรงงานทุกบริเวณ เช่น เถ้าหนัก ฝุ่นแดง กองเหล็ก เตาหลอม ดินและแหล่งน้ำและฝุ่นละอองในโรงงาน เป็นต้น รวมทั้งต้องตรวจหารังสีปนเปื้อนที่ตัวพนักงานทุกคนด้วย”
ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนี้นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านรังสี รวมถึง ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตือนถึงอันตรายที่จะเกิดจากฝุ่นแดงและผลกระทบจากการเผา และนักวิชาการหลายคนเชื่อว่าจะเกิดการปนเปื้อนทางมลพิษในพื้นที่ภาคตะวันออกรวมถึงภาคกลางบางส่วน รวมถึงการปนเปื้อนในดิน น้ำ และอาหาร ซึ่งอาจเป็นปัจจัยก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนกมากนัก เพราะต้องรอการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง

Latest News

อย่างเอา!! “เอ้ Botcash” รีมิกซ์เพลงจากเสียงร้องว่าที่นายกฯ “พิธา” ในสไตล์ EDM

กลายเป็นคลิปยอดฮิตในโลกโซเชี่ยล สืบเนื่องจากที่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ไปออกรายการ 'คุยนอกจอ' ของนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้จัดรายการข่าวคนดัง ช่วงหนึ่งได้นำกีตาร์ออกมาเล่นและร้องเพลง “ลมหายใจ” ของบอย โกสิยพงษ์ หลังจากนั้นก็กลายเป็นกระแสมียอดผู้ชมทะลุล้าน ต่อมา 'เอ้ BOTCASH' ศิลปินนักแต่งเพลงแนว EDM...

เรื่องที่เกี่ยวข้อง